เครื่องจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิต (ELECTROSTATIC PRECIPITATION)

เครื่องจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิต (ELECTROSTATIC PRECIPITATION) 

ใช้แรงทางไฟฟ้าในการแยกอนุภาคที่แขวนลอยออกจากกระแสก๊าซ หลักในการทำงานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ

1.ให้ประจุไฟฟ้าแก่อนุภาคที่แขวนลอย
2.ดักเก็บอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าด้วยสนามไฟฟ้า
3.กำจัดอนุภาคที่เก็บได้


เครื่องดักจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิต ถูกประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในการควบคุมฝุ่น เช่น การควบคุมฝุ่นจากอุตสาหกรรมโลหะ (เช่น การหลอม การเชื่อม เป็นต้น) อุตสาหกรรมเคมี (เช่น อุตสาหกรรมกรดซัลฟูริค ฟอสเฟส เป็นต้น) อุตสาหกรรมกระดาษ โรงงานผลิตไฟฟ้า และซีเมนต์ เป็นต้น ข้อดีของเครื่องจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิต คือ สามารถแยกอนุภาคที่มีขนาดเล็กออกจากกระแสก๊าซได้ง่าย โดยใช้พลังงานต่ำและความดันตกน้อยเช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์รูปแบบอื่น เครื่องจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิตจะมีราคาในการลงทุนเริ่มแรกสูง แต่ต้นทุนในการดูและ ในการทำงานต่ำ

องค์ประกอบของเครื่องจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิต
เครื่องจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิตมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1.Discharge electrode เป็นเส้นลวดที่ทำให้เกิดโคโรนา (corona) อิเล็คโตรดนี้ทำให้ก๊าซมีการแตกตัวเป็นประจุ ให้ประจุแก่ฝุ่น และสร้างสนามไฟฟ้า

2.Collection electrode อาจจะมีลักษณะเป็นท่อหรือเป็นแผ่น ซึ่งมีประจุตรงกันข้ามกับ Discharge electrode ที่ผิวของอิเล็คโตรดนี้ เป็นที่ฝุ่นซึ่งมีประจุไฟฟ้าถูกดักเก็บ
3.Rappers เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในการกำจัดฝุ่นที่ติดอยู่ที่ Collection electrode ออก อาจจะทำได้โดยการสั่นหรือการเขย่า
4.Hoppers เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของอีพี (EP) เป็นที่เก็บรวบรวมฝุ่นที่เกิดจากขบวนการของ Rappers กระบวนการทำงานของอีพีเกิดขึ้นระหว่าง 2 อิเล็กโตรด คือ discharge electrode และ collection electrode

ที่มา :   http://www.neutron.rmutphysics.com

 

ติดต่อ สอบถาม ปรึกษาเรา

บริษัท อันดาเทค จำกัด
743 ซ.ทวีรัตน์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
Tax ID : 0835554005732
line : @andatech
Tel : 085-565-1695
E-mail : andatechn@gmail.com

Message us