ประเภทของบอยเลอร์ (หม้อไอน้ำ)

ประเภทของบอยเลอร์ (หม้อไอน้ำ)
ถ้าการทำงานของหม้อไอน้ำเป็นไปอย่างถูกต้อง หม้อไอน้ำสมัยใหม่ทุกประเภทจะมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานจากเชื้อเพลิงให้เป็นไอน้ำและน้ำร้อนมากหรือน้อยไม่แตกต่างกันมากนัก จากตารางที่ 6 แสดงให้เห็นประสิทธิภาพทางความร้อน (Thermal Efficiencies) ที่คาดว่าจะได้รับสำหรับหม้อไอน้ำประเภทต่าง ๆ คิดจากฐานค่าความร้อนรวม (The Gross Calorific Value) ของเชื้อเพลิง
ในตารางแสดงให้เห็นค่าความแตกต่างที่น่าสนใจในการเลือกชนิดของหม้อไอน้ำ อุปกรณ์ทั่วไปของหม้อไอน้ำทุกประเภทประกอบไปด้วยห้องเผาไหม้ (Furnace Chamber) ซึ่งความร้อนจะถูกถ่ายเทโดยตรงจากเปลวไฟโดยการแผ่รังสีความร้อน (Radiation) ส่วนแก๊สไอเสีย (Flue Gas) จะถ่ายเทความร้อนโดยการพาความร้อน (Convection) ไปยังส่วนต่าง ๆ ความร้อน 2 ใน 3 ส่วนจะเกิดการถ่ายเทความร้อนขึ้นในห้องเผาไหม้ และส่วนที่เหลือเกิดขึ้นจากการพาความร้อนของแก๊สไอเสีย

ประเภทของหม้อไอน้ำที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ประเภทท่อน้ำ (Water Tube Type) ซึ่งจะมีน้ำอยู่ในท่อและที่ใช้แก๊สในการเผาไหม้ให้เกิดความร้อนอยู่รอบ ๆ ท่อเหล่านั้น และอีกประเภทก็คือแบบเปลือกหรือท่อไฟ (Shell or Fire Tube) ซึ่งตรงกันข้ามกับประเภทแรก หม้อไอน้ำรุ่นต่อมา ทั้งหมดได้มีการพัฒนาสืบเนื่องมาจากหม้อไอน้ำทั้ง 2 ชนิดนี้ แต่ออกแบบให้แตกต่างกันออกไปเพื่อให้มีขนาดที่ต่างกันออกไป หรือข้อจำกัดในการใช้งานที่สำคัญมากขึ้น หรือความต้องการในการปฏิบัติการของหม้อไอน้ำแตกต่างกัน เป็นต้น

หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ (Water Tube Boilers)

ปัจจุบัน หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำมีแนวโน้มการที่จะสร้างขนาดการผลิตไอน้ำให้ใหญ่ขึ้นและต้องการไอน้ำที่มีความร้อนยวดยิ่ง (Superheated Steam) อย่างไรก็ตามในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจมักจะใช้หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Multi-Tubular Shell Boiler) ถ้ามีความต้องการไอน้ำมากกว่า 20 เมกกะวัตต์ หรือที่ความดันสูงกว่า 24 บาร์ หรือที่อุณหภูมิของไอน้ำสูงกว่า 3400C ก็มีความจำเป็นต้องใช้หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำมีค่าใช้จ่ายในการผลิตไอน้ำมากกว่าหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ สำหรับหม้อไอน้ำแบบท่อไฟสามารถประกอบส่วนต่าง ๆ เช่น หัวพ่นไฟ ปั๊มน้ำชุดควบคุม ส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ แผงชุดควบคุมในโรงงาน และสามารถขนส่งโดยตรงไปยังโรงงาน อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของขนาดหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ ในด้านการผลิตไอน้ำและความดัน ก็มีผลต่อการขนส่งหม้อไอน้ำสำเร็จรูปจากโรงงานที่สร้างขึ้นไปยังจุดต่าง ๆ

หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำจะผลิตไอน้ำโดยมีค่าเริ่มต้นที่ประมาณ 8.5 เมกกะวัตต์ และสามารถเพิ่มกำลังผลิตของหม้อไอน้ำได้ถึงขนาดที่โรงไฟฟ้าใช้ซึ่งมีอัตราการผลิต 2,000 เมกกะวัตต์หรือมากกว่า การขนส่งสำหรับหม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิตต่ำที่สุดสามารถส่งหม้อไอน้ำทั้งลูกไปยังที่ต้องการได้ แต่ถ้าหม้อไอน้ำมีขนาดใหญ่มากก็ต้องผลิตชิ้นส่วนขึ้นมาเป็นส่วน ๆ และส่งไปประกอบในจุดที่ต้องการได้ ภาพตัวอย่างของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมแสดงได้ดังรูปที่ 28

หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำในสมัยก่อนจะใช้การหมุนเวียของน้ำที่เกิดขึ้นจาก เทอร์มอลไซฟอน (ThermalSyphon) โดยหลักการคือ น้ำร้อนในหม้อไอน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าลอยตัวสูงขึ้น ทำให้น้ำที่เย็นที่มีความหนาแน่นมากกว่าที่อยู่ด้านล่างไหลเข้าไปแทนที่ จะปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้การออกแบบหม้อไอน้ำจะใช้ท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถสูบน้ำที่ป้อนเข้าไปให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำในหม้อไอน้ำ ดังรูปที่ 29 ซึ่งเป็นการออกแบบหม้อน้ำ โดยการสูบน้ำให้เกิดการหมุนเวียนภายในหม้อไอน้ำ

หม้อต้มน้ำแบบท่อน้ำมักไม่ใช้ในการผลิตน้ำร้อน แต่หากต้องการใช้หม้อต้มน้ำเหล่านี้ผลิตน้ำร้อน ก็ควรใช้หม้อต้มน้ำแบบ "ลามอนท์ (Lamont)" ทั้งนี้พราะปัญหาสำคัญของหม้อไอน้ำประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อลดกำลังผลิตน้ำร้อนลง หรือมีเหตุฉุกเฉินทำให้ปั๊มที่ใช้สูบน้ำหมุนเวียน (Circulation Pump) หยุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง นั่นคือมีการสะสมความร้อนทำให้เกิดไอน้ำภายในท่อ ทำให้ท่อเกิดความร้อนมากเกินไปจนเกิดโลหะร้อนแดง อันก่อให้เกิดความเสียหายได้ นอกเสียจากว่าเชื้อเพลิงมีการเผาไหม้อย่างรวดเร็วและมีอากาศเย็นมาระบายความร้อนที่ท่อออกไป ดังนั้นหม้อต้มน้ำประเภทนี้จึงไม่สามารถใช้แบบอัตโนมัติได้อย่างเต็มที่

สำหรับข้อดีของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำก็คือ กำลังการผลิตอยู่ในช่วง 10-20 เมกกะวัตต์ สามารถที่จะรับการเปลี่ยนแปลงภาระงานอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้เปรียบหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำจะมีน้ำบรรจุภายในเป็นส่วนน้อย ดังนั้นความล่าช้าในการให้ความร้อนที่มีต่อระบบก็จะน้อยกว่าในหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำสามารถเผาไหม้โดยใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้แบบเก่าได้ หรือสามารถทำงานได้เหมือนกับหม้อไอน้ำรุ่นใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงหลาย ๆ ชนิดได้

หม้อไอน้ำแบบถังท่อไฟมีเปลือกหุ้มหลายท่อ (Multi-Tubular Shell Boilers)

หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Firetube Shell Boilers) เริ่มต้นการทำงานอย่างง่าย ๆ โดยเพียงแค่ป้อนเชื้อเพลิงใส่ไว้ใต้ภาชนะแบบปิด (Closed Vessel) ก่อปิดด้วยอิฐอยู่รอบ ๆ เท่านั้น จะมีการถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้นมากมายเหมือนกันกับการกลั่นวิสกี้แบบดั้งเดิม ขั้นตอนต่อไปก็คือ ใส่เชื้อเพลิงเข้าไปในห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำก็จะทำให้เกิดแก๊สไอเสียร้อนบริเวณใต้รอบถังน้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานของหม้อไอน้ำแบบ "คอร์นิช (Cornish)" และแบบ "แลงคะเชอร์ (Lan-Cashire)" ต่อมาเมื่อมีการพัฒนานำเอาแก๊สไอเสียร้อนผ่านเข้ามาในท่อเพื่อต้มน้ำในหม้อไอน้ำหรือที่เรียกว่า ท่อไฟ (Fire Tubes) หรือท่อควัน (Smoke Tubes)

เมื่อวัสดุและการผลิตมีความก้าวหน้ามากขึ้น โลหะที่ใช้ทกท่อก็จะบางลงและทำให้มีท่ออีกหลาชนิดที่นำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ในขั้นตอนนี้ทำให้มีการพัฒนาหม้อไอน้ำที่มีลักษณะค่อนข้างยาวขึ้นและบางลง พื้นที่ที่ต้องการสำหรับการติดตั้งหม้อไอน้ำก็จะมากขึ้นด้วย เนื่องจากต้องส่งแก๊สร้อนไปและกลับผ่านชุดของท่อ ทำให้ต้องออกแบบหม้อไอน้ำให้สั้นและกว้างขึ้น อัตราการถ่ายเทความร้อนก็จะดีขึ้นด้วย หม้อไอน้ำสำเร็จรูปสมัยใหม่ที่มีหลายท่อเป็นข้อสรุปอย่างดีสำหรับการวิวัฒนาการของหม้อไอน้ำ

ที่มีการเรียกว่าหม้อไอน้ำแบบสำเร็จรูป ก็เพราะว่าเป็นการรวมคุณสมบัติของหม้อไอน้ำไว้อย่างสมบูรณ์ เมื่อมีการส่งหม้อไอน้ำแบบสำเร็จรูปไปติดตั้งที่โรงงานก็ต้องการเพียงท่อไอน้ำออกจากท่อส่งน้ำ การจัดส่งเชื้อเพลิงและการเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าเท่านั้น เพื่อทำให้หม้อไอน้ำสามารถทำงานได้

หม้อไอน้ำเหล่านี้แบ่งประเภทตามจำนวนครั้งของการไหลวกกลับของแก๊สร้อนที่ผ่านท่อ ซึ่งก็คือจำนวนครั้งของแก๊สร้อนที่ผ่านไปยังหม้อไอน้ำ ห้องเผาไหม้จะเป็นตัวส่งผ่านความร้อนเป็นที่แรก หลังจากนั้นก็จะผ่านไปที่ท่อไฟหนึ่งชุด สองชุด หรือสามชุด ส่วนใหญ่หม้อไอน้ำทั่ว ๆ ไปจะมีแก๊สร้อนวิ่งผ่านในตัวเครื่อง 3 ครั้ง ดังรูปที่ 30 จะแสดงถึงห้องเผาไหม้หลัก ชุดท่อไฟ 2 ชุด และปล่องทางออกของแก๊สไอเสียที่อยู่ด้านหลังของหม้อไอน้ำประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำแบบเก่าที่มีการผ่าน 2 ครั้ง จะมีประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนต่ำ มีท่อไฟเล็กไม่มากนัก และมีพื้นที่การถ่ายเทความร้อนน้อย แต่ในแก๊สไอเสียยังมีความร้อนเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง และถ้าต้องการนำความร้อนกลีบมาใช้ใหม่ก็ต้องติดตั้งอุปกรณ์ชุดอุ่นน้ำป้อนของหม้อไอน้ำ

หม้อไอน้ำที่มีแก๊สร้อนวิ่งผ่านในตัวเครื่อง 4 ครั้ง จะมีประสิทธิภาพของการให้ความร้อนสูงที่สุด แต่อาจมีข้อจำกัดในเรื่องประเภทของเชื้อเพลิงและเงื่อนไขในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น เมื่อไรก็ตามที่หม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นน้ำมันเตาหรือถ่านหิน เมื่อเครื่องหรี่ลง การถ่ายเทความร้อนก็จะดี แต่อุณหภูมิของแก๊สไอเสียที่ทางออกจะต่ำเกินไป เป็นสาเหตุทำให้เกิดการกัดกร่อนของแก๊สไอเสียที่ปล่องไฟ และบางทีก็เป็นที่หม้อไอน้ำเองด้วย

หม้อไอน้ำที่มีแก๊สร้อนวิ่งผ่านในตัวเครื่อง 4 ครั้ง บางครั้งอาจเกิดแรงเค้น (Stresses) สาเหตุจากความร้อนที่เปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใดของภาระงาน (Load) อาจทำให้เกิดการร้างและโครงสร้างภายในของหม้อไอน้ำเสียหายได้

หม้อไอน้ำแบบถังท่อไฟประเภทอื่น ๆ แบ่งประเภทโดยพิจารณาจากช่องไฟวกกลับก่อนเข้าท่อไฟ แต่ถ้าพิจารณาจากช่องวกกลับซึ่งอยู่ภายในตัวเครื่องและม่น้ำหล่ออยู่ข้างนอก หม้อไอน้ำก็จะถูกเรียกว่า "หม้อไอน้ำแบบหลังเปียก" (Wet-Back Boiler) แต่ถ้าพิจารณาจากแก๊สร้อนที่ออกจากห้องเผาไหม้โดยกั้นการวกกลับด้วยวัสดุทนไฟ หม้อไอน้ำประเภทนี้จะถูกเรียกว่า "หม้อไอน้ำแบบหลังแห้ง" (Dry-Back Boiler) และด้วยรูปร่างของหม้อไอน้ำแบบ "หลังเปียก" ทำให้จำนวนท่อไฟเล็กลงและมีผนังหล่อน้ำกั้นไฟวกกลับ จึงทำให้มีการถ่ายเทความร้อนมากขึ้น หม้อไอน้ำแบบนี้สามารถใช้ได้ทั้งกับเชื้อเพลิงแข็งหรือเชื้อเพลิงแบบอื่น ๆ ได้ด้วย

หม้อไอน้ำแบบดั้งเดิมเริ่มแรกที่ผลิตขึ้นมาก็คือหม้อไอน้ำแบบท่อไฟจำแนกออกได้ 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นหม้อไอน้ำแบบถังที่มีห้องเผาไหม้ขนาดเล็กและมีท่อไฟหลายท่อโดยใช้เชื้อเพลิงแก๊สหรือเชื้อเพลิงเหลวอีกประเภทหนึ่งก็คือ หม้อไอน้ำแบบห้องเผาไหม้ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าและมีท่อไฟ 2-3 ท่อสำหรับการเผาไหม้โดยใช้เชื้อเพลิงแข็ง จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงการออกแบบที่เกิดขึ้นนั้นไม่เพียงแต่จะทำให้มีพื้นที่มากขึ้นเท่านั้น แต่จะรวมระบบการป้อนถ่านหินเข้าไว้ด้วย โดยจะต้องคำนึงถึงอุณหภูมิของเปลวไฟที่แตกต่างกัน รวมทั้งลักษณะของการใช้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ในการเผาไหม้ หม้อไอน้ำแบบเก่า การออกแบบจะแยกการใช้เชื้อเพลิงแก๊สและน้ำมันออกจากกัน ตามลักษณะของการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้ง 2 ชนิด หม้อไอน้ำที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงแบบเก่าที่ล้าสมัยจะต้องลดกำลังผลิตลงเมื่อมีการเปลี่ยนหัวพ่นไฟไหม้ โดยใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงหรือใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง แต่ถ้าไม่ลดกำลังผลิตลง จะพบว่าอุณหภูมิของแก๊สไอเสียที่ผ่านเข้าไปในช่องผ่านทางแรกของท่อไฟจะสูงเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การให้ความร้อนเพิ่มขึ้น และทำให้หม้อไอน้ำเกิดความเสียหายเร็วขึ้นกว่าปกติ อย่างไรก็ตามหม้อไอน้ำสมัยใหม่บางประเภทถูกผลิตขึ้นมาตามขนาดของห้องเผาไหม้ และความสามารถในการเผาไหม้เชื้อเพลิงทั้ง 3 ชนิดดังกล่า

แนวโน้มของการออกแบบหม้อไอน้ำในปัจจุบัน จะนิยมใช้ท่อไฟมีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลง มีท่อไฟจำนวนมากขึ้น สามารถใช้กับเชื้อเพลิงได้หลายชนิดและเป็นหม้อไอน้ำแบบประกอบสำเร็จจากโรงงาน อย่างไรก็ตามข้อดีของหม้อไอน้ำรุ่นเก่าแบบถังก็คือ สามารถจุน้ำและไอน้ำได้ปริมาณมาก สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงการใช้ไอน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีพื้นที่บริเวณผิวน้ำมากทำให้ไอน้ำที่ผลิตได้จะแห้งกว่าหม้อไอน้ำรุ่นใหม่ ซึ่งหม้อไอน้ำรุ่นใหม่สามารถจุน้ำได้น้อยแต่จะมีความสามารถในการผลิตไอน้ำได้รวดเร็วมากขึ้น

หม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิตไม่เกิน 12 เมกะวัตต์ โดยปกติจะใช้หัวเผาเดี่ยวหรืออุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงเพียง 1 ชุด แต่ถ้าหม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิตระหว่าง 12 ถึง 20 เมกะวัตต์จะมีหัวเผาหรืออุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิง 2 ชุด แต่ละชุดจะอยู่ในห้องเผาไหม้ที่แยกจากกัน และถึงแม้ว่าหม้อไอน้ำบางประเภทจะมีห้องเผาไหม้คู่ แก๊สไอเสียของแต่ละห้องก็จะแยกกันจนกระทั่งถึงทางออกของแก๊สไอเสีย ข้อดีของหม้อไอน้ำประเภทนี้ก็คือ สามารถเดินเครื่องด้วยการป้อนเชื้อเพลิงที่หัวเผาเพียงชุดเดียว ก็สามารถผลิตไอน้ำจากหม้อไอน้ำที่ปริมาณต่ำสุดได้ แต่ถ้ามีการนำเอาทางผ่านของแก๊สไอเสียมารวมกันป้อนเชื้อเพลิงที่หัวเผาเพียงชุดเดียว จะทำให้อุณหภูมิของแก๊สไอเสียต่ำเกินไปมีผลทำให้เกิดการกัดกร่อนที่ปล่องแก๊สไอเสียได้

หม้อไอน้ำแบบถังมีจุดเด่นอยู่ที่กำลังผลิตที่สามารถผลิตไอน้ำได้ตั้งแต่ 3.0 ถึง 20 เมกะวัตต์ และถึงแม้ว่ามีกำลังผลิตไอน้ำต่ำกว่า 3.0 เมกะวัตต์ก็ยังสามารถผลิตได้ ซึ่งเป็นจุดเด่นพื้นฐานของหม้อไอน้ำแบบถังท่อไฟ

หม้อไอน้ำแบบเปลวไฟย้อนกลับหรือแบบทิมเบิล (Reverse Flame or Thimble Boilers)

ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ปัญหาที่สำคัญของหม้อไอน้ำแบบถังท่อไฟก็คือการเกิดแรงเค้นเนื่องจากความร้อนสูง ทำให้ท่อเกิดการขยายตัวแตกต่างกัน และการขยายตัวของท่อที่ห้องเผาไหม้จะสูงกว่าท่อที่ไม่สัมผัสไฟ ซึ่งเป็นทางผ่านแรกของแก๊สร้อนที่วกกลับ และก็จะแตกต่างกันมากขึ้นไปอีกสำหรับทางผ่านของแก๊สร้อนที่วกกลับครั้งที่สอง ซึ่งอาจจะเกิดแรงเค้นที่แผ่นโลหะของผนังที่ยึดท่อไฟไว้ที่ส่วนปลายของหม้อไอน้ำแต่ละลูกด้วย

หม้อไอน้ำแบบเปลวไฟย้อนกลับหรือทิมเบิล (Reverse Flame of Thimble Boilers) ออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเรื่องการขยายตัวดังกล่าวโดยการใช้ห้องเผาไหม้แบบ "ลอยตัว" ('Floating' Combustion Chamber) ดังที่ได้แสดงไว้ในรูปที่ 31 จะเห็นได้ว่าห้องเผาไหม้จะสัมผัสแผงของท่อด้านหน้าพร้อมกัน

หม้อไอน้ำเล่านี้จัดให้อยู่ในประเภทหม้อไอน้ำแบบมี 3 ไฟกลับ (Three-Pass Units) จะมี 2 กลับที่เกิดขึ้นภายในห้องเผาไหม้ เพราะเปลวไฟแบบย้อนกลับจะใช้ทางผ่านทางเดียวของท่อไฟที่ใช้ในการพาความร้อน ในทางปฏิบัติ การเพิ่มการถ่ายเทความร้อนจากไฟกลับที่ 2 ที่ห้องเผาไหม้สามารถที่จะออกแบบให้ลดลงได้ ซึ่งดีกว่าการออกแบบหม้อไอน้ำแบบถังท่อไฟที่มี 2 ไฟกลับเล็กน้อย

ข้อดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการย้อนกลับของเปลวไฟก็คือเป็นการลดความยาวของห้องเผาไหม้ให้เหลือเท่าที่จำเป็นทำให้หม้อไอน้ำมีขนาดกะทัดรัดมากขึ้น เพราะบ่อยครั้งปัญหาการหาพื้นที่ให้ว่างพอที่จะติดตั้งหม้อน้ำร้อนหรือหม้อไอน้ำภายในอาคารแทนหม้อไอน้ำที่มีอยู่เดิม ดังนั้นถ้ามีพื้นที่เพียงเล็กน้อยก็สามารถติดตั้งหม้อไอน้ำทิมเบิลได้

ข้อสังเกต เมื่อท่อไฟสั้นลงการถ่ายเทความร้อนจะต่ำลง อุณหภูมิของแก๊สไอเสียจะสูงขึ้น ควรแก้ไขด้วยการปรับปรุงการไหลของแก๊สไอเสียให้เป็นแบบปั่นป่วน โดยใช้ท่อที่มีลักษณะเป็นเกลียวมากขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น

ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าหม้อไอน้ำประเภทนี้จะมีการผลิตออกมาเพื่อให้สามารถผลิตได้ทั้งไอน้ำและน้ำร้อน และมีการผลิตอยู่ระหว่าง 150-3,500 กิโลวัตต์ก็ตาม แต่ในเบื้องต้นหม้อไอน้ำเหล่านี้จะใช้สำหรับการผลิตน้ำร้อนมากกว่าการผลิตไอน้ำ สำหรับหม้อไอน้ำประเภทที่มีกำลังผลิตต่ำ หม้อไอน้ำที่โครงสร้างเป็นเหล็กหล่อจะได้เปรียบกว่าหม้อไอน้ำแบบถังท่อไฟหลายท่อที่เป็นที่นิยมใช้กันมาก่อน

ลักษณะของเปลวไฟที่ต้องการในหม้อไอน้ำเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับน้ำมันหรือแก๊สที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง และส่วนใหญ่ของหม้อไอน้ำประเภทนี้ก็จะปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง

หม้อกำเนิดไอน้ำ (Steam Generators)

หม้อกำเนิดไอน้ำ พัฒนามาจากหม้อไอน้ำประเภทท่อน้ำ ในทางปฏิบัติหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำจะมีการใช้แรงดันจากการสูบน้ำให้หมุนเวียนเล็กน้อย

หม้อไอน้ำประเภทนี้ผลิตออกมาให้มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และมีความสามารถในการผลิตไอน้ำได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหม้อไอน้ำประเภทนี้จะมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภาระงานของการเดินเครื่องไดอย่างรวดเร็ว

ไม่เหมือนกับหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำรุ่นเก่า (รูปที่ 29) ที่ไม่มีการแยกถังเก็บน้ำ (Header) และดรัม (Drum) สำหรับแยกไอน้ำออกจากกัน ดังรูปที่ 32 เมื่อน้ำถูกสูบเข้าไปที่ห้องเผาไหม้จนะมีส่วนหนึ่งที่แฟลช (Flash) เข้าไปในไอน้ำแล้วผ่านไปที่เครื่องแยกไอน้ำ เพื่อให้ไอน้ำสามารถผ่านกระบวนการทำให้แห้ง จากนั้นน้ำจากตัวแยกไอน้ำก็จะถูกส่งกลับไปที่น้ำป้อนเข้าเพื่อทำการหมุนเวียนใหม่อีกครั้ง

จากที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า อัตราการถ่ายเทความร้อนสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ โดยการลดชั้นของแก๊สและชั้นของน้ำที่ติดอยู่ที่ท่อลง ซึ่งชั้นดังกล่าวจะติดอยู่ที่ด้านข้างทั้ง 2 ข้างของพื้นผิวการถ่ายเทความร้อนและการลดชั้นดังกล่าวสามารถทำได้โดยการทำให้เกิดการไหลแบบปั่นป่วนหรือเพิ่มการไหลแบบปั่นป่วนให้มากขึ้น พื้นฐานที่ใช้ในการออกแบบหม้อกำเนินไอน้ำแบบนี้ ก็คือการออกแบบให้มีการบำรุงรักษาการไหลแบบปั่นป่วนทั้งในน้ำและในแก๊สไอเสียให้อยู่ในระดับสูง ซึ่งทำให้แน่ใจว่าจะมีอัตราการถ่ายเทความร้อนได้สูงและประสิทธิภาพการให้ความร้อนเป็นอย่างดี

ด้วยขนาดทางกายภาพที่กะทัดรัด โครงสร้างที่มีน้ำหนักเบาและมีความสามารถในการผลิตไอน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้หม้อไอน้ำประเภทนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับระบบการจ่ายไอน้ำที่แยกจุดใช้ห่างกัน อย่างไรก็ตามหม้อไอน้ำประเภทนี้ยังมีข้อเสียอยู่ 2 อย่างก็คือ ข้อแรกอัตราการระเหยสูงมาก ดังนั้นคุณภาพของน้ำป้อนเข้าจำเป็นจะต้องดีตามไปด้วย โดยปกติก็จำเป็นต้องใช้น้ำที่ปราศจากแร่ธาตุ (Deminerization) อยู่แล้ว ข้อที่สองก็คือ หม้อกำเนิดไอน้ำแบบนี้ไม่สามารถใช้ได้ดีกับภาระงานของไอน้ำที่มีการใช้อย่างรุนแรงทันทีทันใด เมื่อก็ตามที่มีความต้องการไอน้ำสูงมากในระยะเวลาสั้น ๆ วิธีปฏิบัติที่ดีก็คือ ให้ติดตั้งหม้อกำเนินไอน้ำแบบนี้ที่มีขนาดเล็กพร้อม ๆ กับติดตั้งหม้อเก็บไอน้ำ (Steam Accumulator) จะทำให้ไอน้ำสามารถย้อนกลับได้คล้าย ๆ กับท่อที่มีอยู่ในหม้อไอน้ำแบบถังรุ่นเก่า หม้อกำเนิดไอน้ำแบบนี้ผลิตขึ้นมา เพื่อให้มีขนาดกำลังผลิตไอน้ำได้ตั้งแต่ 75 กิโลวัตต์ ถึง 2.5 เมกะวัตต์ (ประมาณ 2-300 ถึง 3,000 กิโลกรัมต่อชั่วโมง) ข้อดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยมากถึงแม้ว่าจะออกแบบมาให้มีอุปกรณ์ที่บำบัดน้ำอยู่ด้วยก็ตาม จึงสามารถติดตั้งได้เกือบจะทุก ๆ แห่งที่อยู่ภายในโรงงาน นั่นก็หมายความว่าถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ ซึ่งต้องการไอน้ำที่ความดัน 10 บาร์ แต่ระบบการจ่ายไอน้ำเดิมที่มีอยู่ผลิตได้เพียง 7 บาร์ ก็จะมีหม้อไอน้ำประเภทนี้ 1 ลูกที่ใช้ 10 บาร์ ทางเลือกอีกอย่างก็คือ การเพิ่มความดันเข้าไปที่ระบบกาจ่ายไอน้ำที่มีอยู่เดิม แต่ในมุมมองทางด้านวิศวกรรมที่อาจจะเป็นไปไม่ได้ คือการสูญเสียจากการรั่วไหลความร้อนก็จะอาจเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

หม้อไอน้ำแบบแบ่งส่วน (Sectional Boilers)

หม้อไอน้ำแบบแบ่งส่วนเป็นเหล็กหล่อ (Cast Iron Sectional Boilers) เป็นหม้อไอน้ำที่แตกต่างจากหม้อไอน้ำอื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถแยกออกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นหนึ่งในสองของประเภทหม้อไอน้ำพื้นฐานที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่โดยหลักการ หม้อไอน้ำประเภทนี้ก็คล้ายกับหม้อไอน้ำแบบถังท่อไฟ

จากอดีตที่ผ่านมาหม้อไอน้ำแบบนี้ มีจุดเด่นในการแข่งขันทางการตลาดต่ำมากเพราะมีขนาดกำลังผลิตไอน้ำต่ำ และน้ำร้อนที่ผลิตได้มีอุณหภูมิต่ำถึงปานกลาง (LTHW ถึง MTHW) เท่านั้น

ด้วยขนาดของกำลังผลิตระหว่าง 10 - 30 กิโลวัตต์ การใช้เหล็กทั้งหมดหรือบางส่วนของหม้อไอน้ำ ทำให้หม้อไอน้ำประเภทนี้ใช้เป็นจุดแข่งขันทางการตลาดได้ดี แต่ที่ระดับการผลิตที่สูงกว่า จุดแข่งขันแรกทางการตลาดของหม้อไอน้ำจะเป็นหม้อไอน้ที่มีส่วนประกอบที่เป็นมาตรฐานทั่ว ๆ ไปและหม้อไอน้ำแบบไอเสียควบแน่น ต่อมาก็จะเป็นหม้อไอน้ำแบบทิมเบิลทีมีกำลังผลิตขนาด 750 กิโลวัตต์

ข้อดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของหม้อไอน้ำแบบส่วนเป็นเหล็กหล่อ จะมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูงมากกว่าหม้อไอน้ำที่ทำจากเหล็ก ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้แก๊สธรรมชาติหรือแก๊สหุงต้ม (LPG) เป็นเชื้อเพลิง จะมีอุณหภูมิของแก๊สไอเสียต่ำลงและทำให้มีการกัดกร่อนน้อย แต่จะมีผลกระทบมากขึ้นเมื่อใช้น้ำมันหรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ข้อดีอีกข้อหนึ่งก็คือ โครงสร้างจะทนทานต่อแรงเค้นที่เกิดจากความร้อนที่เปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใดของภาระงาน และหัวพ่นไฟที่ใช้เป็นแบบเปิด-ปิด ทำให้เครื่องเดินและหยุดเดินบ่อย ซึ่งเหมาะกับการใช้อบอ่นในอาคารบ้านเรือนเป็นอย่างยิ่ง

เพื่อพัฒนานำส่วนที่ดีของหม้อไอน้ำเหล็กหล่อประเภทนี้มาใช้ประโยชน์ ทำให้มีการผลิตหม้อไอน้ำแบบใช้เหล็กสแตนเลสเชื่อมต่อขึ้นรูป มีขนาดกะทัดรัด มีน้ำหนักเบาและได้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่า อย่างไรก็ตามหม้อไอน้ำแบบเก่าก็ยังคงมีราคาถูกกว่าและมีรูปแบบที่คงทนมากกว่า เหมาะสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตน้ำร้อนที่ระดับอุณหภูมิต่ำ (LTHW)

หม้อไอน้ำแบบไอเสียควบแน่น (Condensing Boilers)

ปัญหาของการกัดกร่อนมีสาเหตุมาจากการควบแน่นของแก๊สไอเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้ออกแบบหม้อไอน้ำต้องคำนึงถึง ถ้ามองในด้านของพลังงาน แก๊สไอเสียร้อนอาจจะเป็นส่วนที่สิ้นเปลือง การลอยตัวตามธรรมชาติของแก๊สไอเสียในปล่องไฟ จะมีอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้สามารถเข้าไปในหม้อไอน้ำได้ สามารถกำจัดแก๊สไอเสียได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อไล่แก๊สไอเสียออกไป จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการออกแบบหม้อไอน้ำให้รักษาอุณหภูมิของแก๊สไอเสียให้อยู่ในระดับสูงเพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการควบแน่นและการกัดกร่อนขึ้น สำหรับการนำเอาน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำ (LTHW) ไปใช้ประโยชน์นั้น ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าในทางปฏิบัติไม่สามารถเป็นไปได้ที่จะนำเอาน้ำที่มีอุณหภูมิที่ 800C และ ต่ำกว่าไปใช้งานได้ ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น วิธีแก้ปัญหาก็คือให้มีการใช้หม้อไอน้ำแบบบางส่วนเป็นเหล็กหล่อให้แพร่หลายมากขึ้น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของแก๊สธรรมชาติโดยตรงก็ยังทำให้เกิดการกัดกร่อนอยู่บ้าง นั่นก็หมายความว่าการใช้ความร้อนจากมั้งความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝงของไอน้ำก็ยังคงเกิดขึ้นในระหว่างที่มีการเผาไหม้ ซึ่งยังคงสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย ดังนั้น หม้อไอน้ำแบบแก๊สไอเสียควบแน่น จึงเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ ในทางปฏิบัติอีกทางเลือกหนึ่ง โดยพื้นฐานทั่วไปแล้วหม้อไอน้ำเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนของแก๊สทิ้งในปล่องไฟตามที่ได้แสดงไว้ในรูปที่ 38

ตามปกติการออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเริ่มแรกจะใช้วัสดุแตกต่างกัน 2 ชนิด ก็คือ เหล็กหล่อและเหล็กไร้สนิม เพราะว่ายังคงมีการกัดกร่อนเกิดขึ้น ปัจจุบันมีการใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบใช้เหล็กไร้สนิมมากขึ้น เพราะว่า เครื่องจะมีขนาดกะทัดรัดและสามารถติดตั้งเข้ากับหม้อไอน้ำที่ขนาดเล็ก ขนาด 30 กิโลวัตต์ได้ ปัจจุบันเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดนี้มีขนาดกำลังผลิตถึง 600 กิโลวัตต์ และโดยหลักการก็สามารถนำไปใช้ได้กับหม้อไอน้ำที่มีขนาดกำลังผลิตมากกว่าด้วย และด้วยขนาดกำลังผลิตดังกล่าวทำให้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนใช้เป็น "เครื่องอีโคโนไมเซอร์แบบควบแน่น" ได้

โดยทั่วไปหม้อไอน้ำประเภทนี้จะใช้แก๊สธรรมชาติหรือแก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้เพราะปริมาณกำมะถันที่มีอยู่ในเชื้อเพลิงเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการกัดกร่อน ดังนั้นจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถันต่ำหรือเชื้อเพลิงที่ "สะอาด" ทางเลือกหนึ่งก็คือ ทำให้แก๊สไอเสียสะอาดขึ้นก่อนที่จะมีการควบแน่น ดังนั้น สำหรับหม้อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่จำเป็นต้องติดตั้งอเครื่องอีโคโนไมเซอร์สำหรับการควบแน่นหลังจากที่ผ่านกระบวนการลดกำมะถันในแก๊สไอเสียให้ต่ำลงแล้ว

พลังงานจากเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนนำมาใช้ในการอุ่นน้ำป้อนเข้าที่จะส่งไปยังหม้อไอน้ำ ถ้าอุณหภูมิในน้ำป้อนเข้ายิ่งต่ำ ความร้อนที่นำกลับมาใช้ใหม่จากเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนก็จะยิ่งสูงขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของหม้อไอน้แบบสำเร็จรูปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังในรูปที่ 34 แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพได้ถึง 10%

หม้อไอน้ำแบบที่ใช้ส่วนประกอบตามมาตรฐาน (Modular Boilers)

ถ้าความต้องการในการใช้ความร้อนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นชั่วโมงเป็นวันและเป็นเดือน แสดงว่าการใช้งานดังกล่าว สถานที่แห่งนั้น ต้องการให้ความร้อนในเชิงพาณิชย์จำนวนมาก ดังนั้น การติดตั้งหม้อไอน้ำขนาดใหญ่เพียงลูกเดียวทำให้ไม่มีประสิทธิภาพมากนัก หม้อไอน้ำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะต้องมีกำลังผลิตอยู่ประมาณ 80% ของอัตรากำลังผลิตที่ควรผลิตได้เมื่อมีการเดินเครื่องอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สถานการณ์ตามความต้องการข้างต้น ถ้ามีการติดตั้งหม้อไอน้ำขนาดเล็กหลาย ๆ ลูก จะทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และหม้อไอน้ำเหล่านี้ก็จะสามารถผลิตไอน้ำตามความต้องการเท่าที่จะใช้เท่านั้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวการติดตั้งหม้อไอน้ำขนาดเล็กที่เหมือนกันหลาย ๆ ลูก ประกอบเป็นชุด ๆ เข้าด้วยกันก็จะสามารถควบคุมสั่งการให้ทำงานตามที่ต้องการได้

ระบบที่ใช้เริ่มแรกสุดคือ หม้อไอน้ำแบบแบ่งส่วนที่เป็นเหล็กหล่อ แบบดั้งเดิม และต่อมาก็เป็นหม้อไอน้ำแบบถังท่อไฟขนาดเล็กที่ทำด้วยเหล็กและยังคงใช้กับระบบใหญ่ ๆ ขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงจะถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับใช้กับหม้อไอน้ำชนิดนี้ที่มีขนาดกำลังผลิตต่ำในช่วงท้าย ๆ

ข้อดีของการใช้ระบบที่เป็นชุด ๆ ประกอบเข้าด้วยกัน ก็คือ เมื่อต้องลดกำลังการผลิตไอน้ำ ระบบก็จะยอมให้หม้อไอน้ำแต่ละลูกสามารถปิดเครื่องแยกต่างหากจากกันได้เองเพื่อให้กำลังผลิตมีประสิทธิภาพสูงที่สุดอยู่ตลอดเวลา ในระบบที่มีการออกแบบเป็นอย่างดีจะไม่มีน้ำหมุนเวียนผ่านหม้อไอน้ำเมื่อปิดเครื่องหม้อไอน้ำแล้วจะทำให้การสูญเสียความร้อนลดลงได้เป็นอย่างดี จากรูปที่ 35 แสดงให้เห็นว่าชนิดของการติดตั้งท่อส่งและวาล์วตามที่กำหนดเอาไว้ตามตัวอย่าง และระบบดังกล่าวจะทำงานภายใต้การควบคุมแบบอัตโนมัติ โดยใช้น้ำมันหรือแก๊สเป็นเชื่อเพลิง

สำหรับหม้อไอน้ำแบบนี้ไม่มีการจำกัดการผลิตสูงสุดไว้ เพราะถ้ามีความต้องการความร้อนมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มหม้อไอน้หรือเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเข้าไปได้อีก การก่อสร้างอาคารที่จะใช้สำหรับระบบนี้จะคำนึงถึงขนาดของกำลังผลิตประมาณ 10 กิโลวัตต์ แต่ก็สามารถใช้ได้หม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิตขนาด 100 กิโลวัตต์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจำเป็นต้องมีการประเมินผลด้านการเงินเพื่อกำหนดรูปแบบของหม้อไอน้ำในอุดมคติได้ เพื่อให้มีการติดตั้งที่มีศักยภาพเหมาะสมกับงาน

หม้อไอน้ำแบบคอมโพสิต (Composite Boilers)

หม้อไอน้ำแบบนี้เป็นลูกผสมระหว่างท่อไฟกับท่อน้ำสามารถเผาเชื้อเพลิงสองชนิดที่แตกต่างกันได้ ปกติจะใช้ของเสียจากกระบวนการผลิตเป็นเชื้อเพลิงหรือความร้อนที่จะต้องเผาทิ้ง (Waste Heat) และเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนที่เป็นปิโตรเลียม ของเสียจากการผลิตหรือเชื้อเพลิงแข็ง จะเผาไหม้ในห้องเผาไหม้แรกและความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ผ่านไปยังห้องเผาไหม้ที่ 2 ซึ่งเชื้อเพลิงปกติจะเผาต่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบเช่นเดียวกัน เพราะแก๊สร้อนจากห้องเผาแรกสามารถผ่านไปได้บางส่วนของพื้นผิวถ่ายเทความร้อนก่อนเข้าไปห้องเผาไหม้ที่ 2 หรืออีกทางหนึ่งแก๊สร้อนอาจผ่านเข้าหม้อไอน้ำโดยตรงหลักจากเผาไหม้สมบูรณ์แล้ว

ปัจจุบันนิยมนำของเสียจากอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้นและได้ประโยชน์มากกว่าที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปกำจัดทิ้ง โดยการนำเตาเผาขยะ (Incfinerators) มาต่อพ่วงกับหม้อไอน้ำที่รับความร้อนทิ้ง (Waste Heat Boiler) แต่ระบบนำความร้อนกลับนี้มีประสิทธิภาพต่ำ ระยะแรกหม้อไอน้ำแบบคอมโพสิตจึงถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้ และในปัจจุบันได้มีการออกแบบพัฒนาผลิตหม้อไอน้ำแบบใช้เชื้อเพลิงหลายชนิดพร้อมกัน รวมทั้งของเสียจากอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมออกมาใช้แล้วด้วย

ที่มา http://www.boilerthailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=556545&Ntype=1

 

Message us